เมนู

หิมวันตบรรพต สูงห้าร้อยโยชน์
โดยส่วนยาวและกว้างสามพันโยชน์ ประดับ
ด้วยยอดแปดหมื่นสี่พันยอด.
ชมพูทวีปท่านประกาศแล้ว ด้วย
อานุภาพแห่งต้นชมพูใด ต้นชมพูที่ชื่อว่า
นคะ นั้นวัดโดยรอบลำต้นประมาณ 15
โยชน์* ความยาวของลำต้นและกิ่งประมาณ
50 โยชน์ ความกว้างโดยรอบประมาณ 100
โยชน์ และสูงขึ้นไป (เบื้อบน) ก็มีประมาณ
เท่านั้นนั่นแล.
จักรวาลบรรพต หยั่งลงในห้วง
มหรรณพสองหมื่นแปดพันโยชน์ สูงขึ้นไป
(เบื้องบนก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน) จักร-
วาลบรรพตนี้ตั้งล้อมรอบโลกธาตุทั้งหมดนั้น
อยู่.

[ขนาดพระจันทร์เป็นต้นประมาณ 49 โยชน์]


ในโลกธาตุนั้น ดวงจันทร์ (วัดโดยตรงโดยส่วนยาวส่วนกว้างและ
ส่วนสูง) 59 โยชน์ ดวงอาทิตย์ประมาณ 50 โยชน์ ภพดาวดึงส์ประมาณ
หมื่นโยชน์ ภพอสูร อวีจิมหานรก และชมพูทวีปก็มีประมาณเท่านั้น อมร-
โคยานทวีป ประมาณ 7 พันโยชน์ ปุพพวิเทหทวีป ก็มีประมาณเท่านั้น
อุตรกุรุทวีป ประมาณ 8 พันโยชน์ ก็แล ทวีปใหญ่ ๆ ในโลกธาตุนี้ แต่ละ
* ฏีกาสารรัตถทีปนี แก้เป็น ปณฺณรสโยชนปฺปมาณกฺขนฺธปริกฺเขปา 1/401.

ทวีป ๆ มีทวีปเล็ก ๆ เป็นบริวาร ทวีปละห้าร้อย ๆ จักรวาลหนึ่งแม้ทั้งหมด
นั้น ชื่อว่าโลกธาตุหนึ่ง ในระหว่างแห่งจักรวาลนั้น เป็นโลกันตริกนรก.
แม้โอกาสโลก (โลกคือแผ่นดิน) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้
แจ้งแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรง
พระนามว่า โลกวิทู เพราะความที่พระองค์ทรงรู้แจ้งโลก โดยประการทั้งปวง
แม้ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้.

[อรรถาธิบายพระพุทธคุณบนว่า อนุตฺตโร]


บทว่า อนุตฺตโร ความว่า บุคคลผู้ยิ่งกว่า ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั่น เพราะไม่มีใคร ๆ ที่จะดีวิเศษกว่าพระองค์
โดยคุณของตน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อนตฺตโร (ไม่มี
ผู้อื่นยิ่งกว่า). จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ย่อมครอบงำโลก
ทั้งหมด ด้วยพระคุณคือศีลบ้าง ด้วยพระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ
วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั่นไม่มีผู้เสมอ หาผู้เสมอ
เหมือนมิได้ หาผู้เปรียบมิได้ ไม่มีผู้เปรียบเทียบหาบุคคลผู้ทัดเทียมมิได้ ด้วย
พระคุณคือสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง. เหมือนอย่างที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เรายังไม่เล็งเห็นสมณะ
หรือพราหมณ์คนอื่นเลย ผู้จะสมบูรณ์ด้วยศีลยิ่งกว่าเรา ในโลกกับทั้งเทวดา
มาร พรหม และในหมู่สัตว์ พร้อมทั่งสมณพราหมณ์และเทวดา มนุษย์.1
ควรทราบความพิสดาร (แห่งพระสูตรนั้น). พระสูตรทั้งหลายมีอัคคัปปสาทสูตร
เป็นต้น และคาถามีอาทิว่า อาจารย์ของเราไม่มี2 ดังนี้ ก็ควรให้พิสดาร
ตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั้น.
1. สํ. ส. 15/204. 2. ม.มู. 12/329.